วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

มาตราตัวสะกดในภาษาไทย

          มาตราตัวสะกดมีทั้งที่ใช้ตัวสะกดตรงแม่ และมาตราตัวสะกดที่ไม่ตรงแม่ การเรียนรู้มาตราตัวสะกดต่างๆ ทำให้เขียนและอ่านคำได้ถูกต้อง
            มาตราตัวสะกด คือ พยัญชนะที่ผสมอยู่ข้างหลังคำหรือพยางค์ในแม่ ก กา ทำให้แม่ ก กา มีตัวสะกด เช่น มี เมื่อประสมกับ ด ลายเป็น มีด เป็นต้น
            มาตรา ก กา หรือแม่ ก กา คือ คำหรือพยางค์ที่ไม่มีตัวสะกด เช่น มา เสือ ตัว มือ เสีย ดำ ฯลฯ ส่วนมาตราตัวสะกดมีทั้งหมด ๘ แม่ คือ กก กด กบ กม เกย เกอว กง กน แบ่งได้ดังนี้
1.       มาตราตัวสะกดตรงแม่ ใช้ตัวสะกดตัวเดียว มี ๔ มาตรา คือ
แม่กง ใช้ ง สะกด เช่น หาง ปลิง สอง งง แรง ฯลฯ
แม่กม ใช้ ม สะกด เช่น ลม แต้ม โสม มุม งอม สนาม ฯลฯ
แม่เกย ใช้ ย สะกด เช่น สาย ลอย โปรย เฉย ปุ๋ย ฯลฯ
แม่เกอว ใช้ ว สะกด เช่น แห้ว กาว เปรี้ยว เปลว ฯลฯ
2.       มาตราตัวสะกดไม่ตรงแม่ มีตัวสะกดหลายตัวในมาตราเดียวกัน เพราะออกเสียงเหมือนตัวสะกดเดียวกัน มี ๔ มาตรา คือ
แม่กน ใช้ น ญ ณ ร ล ฬ สะกด เช่น นาน วิญญาณ วานร กาลเวลา พระกาฬ ฯลฯ
แม่กก ใช้ ก ข ค ฆ สะกด เช่น ปัก เลข วิหค เมฆ ฯลฯ
แม่กด ใช้ ด จ ช ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด เช่น แปด ตรวจ ก๊าซ บงกช กฎหมาย ปรากฏ อิฐ ครุฑวัฒนา เปรต โอสถ บาท โกรธ กระดาษ รส เลิศ ฯลฯ
แม่กบ ใช้ บ ป ภ พ ฟ สะกด เช่น กลับ บาป ลาภ นพรัตน์ กราฟ ฯลฯ
มาตราแม่ กก
            มาตราแม่ กก เป็นคำที่ประสมกับสระต่างๆ และมี ก เป็นตัวสะกด เช่น ผัก นก เลือก
            นอกจากนี้ คำที่ประสมสระต่างๆ และมี ข ค ฆ เป็นตัวสะกดและอ่านอ่านออกเสียงอย่าง ก สะกด ก็เป็นคำในมาตรากก เช่น สุนัข โชค เมฆ  

บทกลอนแม่กก
     นกแสกนกกระสา
น้ำมากแลน้ำลึก
ปลาอุกปลาดุกดัก
ชักเสาเอาเชือกลาก
ปลูกกี่ไว้ทอหูก
ไม้แตกให้ใส่ปลอก
แกรกๆ มาเวลาดึก
แลน้ำหมึกแลน้ำหมาก
แลปักหลักแลครกสาก
จะผูกจากให้จักตอก
ลูกมะดูกลูกมะกอก
ไม้กระบอกแลดอกบุก
ฯลฯ

     นกมีปากแลมีปีก
ไปปะพวกที่รัก
เด็กๆ ดูกระจก
ปลูกเผือกผักถากหญ้าแพรก
เข้าเปลือกแลเข้าสุก
ด่าทอต่อตีชก
ผ่าไม้ซึกให้แตกหัก
ได้รู้จักทักเรียกแขก
อย่าให้ตกมักจักแตก
หญ้าคาแฝกอย่าให้รก
เลือกปลาดุกทำห่อหมก
ถูกศอกอกหกถลา
(ประถม  ก กา.ฉบับหอสมุดแห่งชาติ.)

เพลงมาตราแม่กก
(ทำนองเพลง Are you sleeping)
     มาตราแม่กก ๆ
ฆ ระฆัง ตีดังกังวาน ๆ
โยกเยกเลขหก ๆ
ล้วนสะกดด้วยแม่กก ๆ
ไก่ ไข่ ควาย ๆ
สราญสุขใจ ๆ
เมฆ โรค โชค ๆ
มีสี่ตัว ๆ

มาตราตัวสะกดแม่ กง 
มาตราตัวสะกดแม่ กง คือ คำที่ประสมด้วยสระต่างๆ และมี ง เป็นตัวสะกด เช่น กลอง ธง กลาง เตียง กางเกง ลิง ผึ้ง ร้องเพลง แป้ง แกง แห้งแล้ง เป็นต้น
บทกลอนแม่ กง
     เรื่องกงดูจงแจ้ง
ลูกตำลึงแลหนึ่งสอง
ยุงหนักต้องกางมุ้ง
หลังโกงนั่งหย่องยอง
บึงบางคลองกว้างรี
ชาววังนั่งในห้อง
ตาชั่งแลตาเต็ง
แมงป่องแมลงผึ้ง
กุ้งกั้งทุกังกง
อึ่งอ่างแลคางคก
นกยางย่องจิกปลิง
ระฆังดังหง่างๆ
กลองหนังดังตึงๆ
นักเลงร้องเพลงพลาง
เอาหลังนั่งเอียงอิง
เด็กๆ อย่าใหลหลง
ดูไปตั้งใจฟัง
ลูกมะแว้งแตงฟักทอง
ทองแท่งใหญ่ใส่ไถ้ถุง
ไปเมืองกรุงรุ่งพรุ่งนี้
เรียกพวกพ้องแลน้องพี่
เรียกว่าปีมะโรงมะเส็ง
ชักจ้องหน่องดังโหน่งเหน่ง
ทั้งกางเกงแลกระทง
ปลาทูนึ่งปลากระสง
ปลาตะพงซื้อแพงจริง
ทั้งจิ้งจกแลแง่งขิง
ฝูงค่างลิงวิ่งร้องอึง
ฆ้องใหญ่กว้างครางหึ่งๆ
ตีกระดึงดังกริ่งๆ
ตรงหน้าต่างไขว่ห้างหยิ่ง
มือถือฉิ่งตีดังๆ
ดูเรื่อง กง ก กาบ้าง
เบื้องหน้ายังจะว่ากด
  
เพลงมาตราแม่ กง
ทำนอง SEVEN LONELY DAYS
มาซิเชิญเข้ามา
จง ดำรง มั่นคง
จูง นกยูง บินสูง
ลงลำคลอง ว่องไว
ดูซิดู งูอยู่ท้าย
หนู หนูจงกู่ร้องว่า
หาตัวสะกดแม่กง
ยืนตรง ธงชาติไทย
ฝูงปลา ร่าเริงใจ
กางใบ เรือไม่โคลง
ใคร ใคร ก็มอง
มาตราแม่กง

มาตราแม่ กด
            มาตราแม่ กด คือคำที่ ด เป็นตัวสะกด และคำที่มีเสียงเหมือน ด เป็นตัวสะกดได้แก่คำที่มีตัวสะกดเป็นพยัญชนะต่อไปนี้ คือ จ ฉ ช ฌ ซ ฎ ฏ ฑ ฒ ฐ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ตัวสะกดแม่ กด

เพลงมาตราแม่ กด
(เนื้อร้องตามแบบสามัคคีชุมนุม)
     มาตราสะกดแม่กด
ทั้ง จ ฉ เข้า
ซ โซ่ (ฎ) ชฎา (ฏ) ปฏัก
(ฒ) ผู้เฒ่า ฐ ฐานใหญ่โต
(ท) ทหารแบก (ถ) ถุง และ (ธ) ธง
ส เสือร้ายอยู่ในพนา
มาตราตัวสะกดแม่กด
ขอเชิญมาท่องเร็วไว้
จงจำให้หมด สิบแปดตัวมี
กับ ช ช้าง ที่นำ ฌ เฌอ
ช่างงามจริงนัก ฑ มณโฑ
ด เด็กเล็กโก้ เดินโซ (ต) เต่านา
ต่างมุ่งหน้าตรงไปที่ ศ ศาลา
ผู้มีเมตตา ษ ฤาษีอยู่ไพร
สิบแปดทั้งหมดจงจำเอาไว้
ไม่พลาดพลั้งไปเป็นคนเก่งเอย

เพลงมาตราแม่กด
(ทำนองเพลงช้าง)
     คด มด งด
เห็น "ด" สะกดที่ใด
พจน์ รถ ยศ
เหมือน "ด" สะกดทุกคำ
ลองหาดูซิ มีหลายคำ
รู้จักแม่กดหรือไม่
จำไว้ซิจ๊ะ มีหลายคำ
ก็เป็นมาตราแม่กด
เราต้องจดจำกันให้ดี ๆ

มาตราแม่กน
            มาตราแม่ กน คือ พยางค์ที่ออกเสียงเหมือนมีตัว "น" สะกด พยัญชนะที่ใช้เป็นตัวสะกดในมาตราแม่ กน   ได้แก่ น ณ ญ ร ล ฬ

ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ กน
            กระตือรือร้น กันแสง ขมีขมัน ขึ้นแท่น คำประพันธ์ จินดา ชันษา ชุลมุน ดูหมิ่น ต้นหว้า โต๊ะจีน พระชนนี

เพลงมาตราแม่ กน
ทำนอง JOEY
     ตัวสะกดมาตราในแม่ กน
มี ณ เณร ล ลิง ร เรือ พายไป
จุฬา เดินเวียนวน ปืนกล และรถยนต์
อย่าสับสน หกตัว จำไว้
น หนูไซร้ ญ หญิงไทย ฬ
บนถนน สับสน จลาจล
                                                                                                                                                     
มาตราตัวสะกดแม่กบ
            มาตราตัวสะกดแม่ กบ คำที่ประสมกับสระต่างๆ และมี บ เป็นตัวสะกดตรงมาตรา และมี ป พ ภ ฟ เป็นตัวสะกด แต่ออกเสียงเหมือน บ สะกด เช่น ลบ รูป ลาภ ภาพ ยีราฟ เป็นต้น

เพลงมาตราแม่ กบ
     บ ใบไม้ ป ปลา พ พาน
ห้าตัวนั้นร่วมเป็นเพื่อนตาย
ล้วนต่างพึ่งซึ่งกันและกัน
มีอยู่ในมาตราของไทย
ฟ ฟัน ภ สำเภา สหายมอบกาย
ใจไว้เคียงคู่กัน
มาช่วยกันเปล่งเสียงให้ดี
มามาเรียนมาตราแม่กบ อบ อบ อบ อบ

เพลงมาตราแม่กบ
(ทำนองเพลงตบแผละ)
     จับกบ ตะปบ ประจบ
เห็น บ สะกดที่ใด
ประสพ ถูกสาป ก่อบาป
ดูซิ ยีราฟ นั่นไง
เริงสราญ ปลาวาฬ มันว่ายวน
เสียงดังอบ อบ อบ อบ
ไม่ต้องสงสัย นั่นคือแม่กบ
มีลาภ แม่กบ อบ อบ
คำเหล่านี้ไซร้ เหมือน บ สะกด
บุญคุณล้นดลจิตคิดพากเพียร

มาตราตัวสะกดแม่กม
            มาตราตัวสะกดแม่ กม คือ คำที่ประสมด้วยสระต่างๆ และมี ม เป็นตัวสะกด
ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ กม
            กระหม่อม คำราม จริยธรรม ชมรม ถล่ม ทะนุถนอม ทิม ทุ่ม บรรทม บังคม เปรมปรีดิ์ พฤติกรรม ภิรมย์ แยม หยาม อาศรม
เพลงมาตราแม่ กม
ทำนอง CLEMENTINE
นาม งาม ยาม ย่อม
คำเหล่านี้ล้วนมีตัว ม
มาตราไทยนั่นคือ
น้อม พร้อม ล้อม ซ่อม
ขอให้เราจงจำไว้ให้มั่น
แม่กม
มาตราตัวสะกดแม่เกย 
            มาตราตัวสะกดแม่ เกย คือ คำที่ประสมด้วยสระต่างๆ และมี ย เป็นตัวสะกด
ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ เกย
            กระจ้อยร่อย ข่าย ชีวาลัย ทยอย นโยบาย เนย เนื้อทราย เปรียบเปรย พระทัย โพยภัย ภูวไนย เสวย มโนมัย วินัย สาหร่าย
เพลงมาตราแม่เกย
ทำนอง พม่าแทงกบเล เล เล เล เล เล เล เล (ซ้ำ)
มาตราเกยนั้นเรารู้จักกัน
ว่ามี ย เป็นตัวสะกด
เล เล เล เล เล เล เล เล (ซ้ำ)
เมื่อมี ย ขอตามผู้ใด  โปรดจงรู้เอาไว้
นั่นมาตราไทย แม่เกย
มาเถิดหนามา มาหาแม่เกย (ซ้ำ)
เอ่ย เตย เผย เฉยเมยสบายกาย
ขลุ่ย ยาย หาย ขาย ปุย ทุย เอย

เพลงมาตราแม่เกย
(ทำนองเพลงช้าง/พม่าเขว)
    ยักษ์ ยักษ์ ยักษ์
เห็น ย ยักษ์ อยู่หลังใคร
เช่น เฉย เลย ลาย ตาย เอย
หนูรู้จักยักษ์หรือไม่
เป็นมาตราไทย เรียกแม่เกย (ซ้ำ)
มาตราตัวสะกดแม่เกอว
            มาตราตัวสะกดแม่ เกอว คือ คำที่ประสมด้วยสระต่างๆ และมี ว เป็นตัวสะกด
ตัวอย่างคำที่มีตัวสะกดในมาตราตัวสะกดแม่ เกอว
            กริ้ว ก๋วยเตี๋ยว ข้าวยำ ข่าวลือ จิ๋ว เจื้อยแจ้ว ดาวฤกษ์ ต้นงิ้ว ท้าวไท ทาวน์เฮ้าส์ ประเดี๋ยว ยั่ว เลิกคิ้ว หิว ข้าว เหว อ่าว

เพลงมาตราแม่ เกอว
ทำนอง พม่าเขว
     แหวนแหวนแหวน
แหวนงามตามหลังคำใด
หนู หนู หนู
ถ้าแหวนมีในสระอัว
เกอวนั้นต้องมี ว เป็นตัวสะกด
แหวนงามชอบตามหลังใคร
เรียกคำนั้นไซร้ว่าแม่เกอว (ซ้ำ)
หนูจำแม่เกอวให้ดี
จงอย่าเมามัวว่า แม่เกอว (ซ้ำ)

ที่มา : มาตราตัวสะกดในภาษาไทย

คำที่มักสะกดผิดและคำที่สะกดในรูปแบบที่ถูกต้อง

            ในปัจจุบัน เราอยู่ในยุคที่มีความเร่งรีบสูง ทำอะไรต่างก็ต้องรวดเร็วทันใจ แม้กระทั่งการใช้คำ การเขียนคำภาษาไทยก็เช่นกัน เพราะว่า ในตอนนี้พบการสะกดคำผิดรูปแบบหรือผิดหลักไวยากรณ์ ซึ่งพบได้ตามโลกโซเชียลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเฟสบุ๊ค หรืออื่นๆก็ตาม ยกตัวอย่างเช่นคำต่อไปนี้
1. กะเทย VS กระเทย
            คำที่ถูก >> กะเทย
            คำที่ผิด >> กระเทย
เขียนผิดกันมากสำหรับคำๆ นี้ ให้จำไว้ว่า อยากเป็นกระเทย ไม่ต้อง รอ
2. โควตา VS โควต้า
            คำที่ถูก >> โควตา
            คำที่ผิด >>โควต้า
ตามหลักการเขียนคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ไม่ต้องเติมวรรณยุกต์ค่ะ ดังนั้น Quota จึงเขียนได้ว่าโควตา ไม่ต้องเติมไม้โทให้คำว่า ตานะ
3. ต่างๆ นานา VS ต่างๆ นาๆ
            คำที่ถูก >> ต่างๆ นานา
            คำที่ผิด >> ต่างๆ นาๆ
โดยปกติคำซ้ำจะเติมเครื่องหมายไม้ยมกไว้ด้านหลังคำที่ต้องการซ้ำ ยกเว้นคำว่า นานา” “จะจะที่ไม่ต้องซ้ำนะ เขียนแบบเดิมสองครั้งได้เลย
4. ผลัดวันประกันพรุ่ง VS ผัดวันประกันพรุ่ง
            คำที่ถูก >> ผัดวันประกันพรุ่ง
            คำที่ผิด >> ผลัดวันประกันพรุ่ง
ผัดวันประกันพรุ่งไม่ต้องมี นะคะ ผลัดแบบนี้ใช้สำหรับ ผลัดผ้า
5. ผาสุข VS ผาสุก
            คำที่ถูก >> ผาสุก
            คำที่ผิด >> ผาสุข
เชื่อว่าหลายคนไปโยงกับความหมายความสุข ก็เลยใช้ สะกด แต่จริงๆ แล้วใช้ สะกด
6. กงเกวียนกำเกวียน VS กงกำกงเกวียน
            คำที่ถูก >> กงเกวียนกำเกวียน
            คำที่ผิด >> กงกำกงเกวียน
ที่ถูกต้องคือกงเกวียนกำเกวียนเพราะทั้ง กง และ กำ เป็นส่วนประกอบของล้อเกวียน
7. กังวาล VS กังวาน
            คำที่ถูก >> กังวาน
            คำที่ผิด >> กังวาล
กังวาน เป็นอีกคำที่สะกดด้วย ได้เลย ไม่ต้องไปสะกดแบบอื่นให้มันยากกว่าเดิม
8. ผัดไทย VS ผัดไท
            คำที่ถูก >> ผัดไทย
            คำที่ผิด >> ผัดไท
คำนี้มีวิธีการจำง่ายๆ ตามที่ราชบัณฑิตยสถานบอกไว้ก็คือ คำว่า ไทยในผัดไทย เขียนเหมือนคนไทย นั่นเอง
9. อานิสงส์ VS อานิสงฆ์
            คำที่ถูก >> อานิสงส์
            คำที่ผิด >> อานิสงฆ์
อานิสงส์ มีความหมายในตัว คือ ผลแห่งกุศลกรรม ซึ่งเป็นคำบาลี(อานิสํส) ไม่ใช่ พระสงฆ์ ดังนั้นจึงใช้ ส์
10. ใบกะเพรา VS ใบกระเพรา
            คำที่ถูก >> ใบกะเพรา
            คำที่ผิด >> ใบกระเพรา
การเขียนที่ถูกต้องจริงๆ มี เพียงแค่ที่เดียว คือเพราส่วน กะไม่ต้องมี
11. ข้าวเหนียวมูน VS ข้าวเหนียวมูล
            คำที่ถูก >> ข้าวเหนียวมูน
            คำที่ผิด >> ข้าวเหนียวมูล
มูลหมายถึง ราก หรือเศษสิ่งของต่างๆ รวมไปถึงอุจจาระ ซึ่งต้องใช้คำว่า มูนหมายถึง การเอากะทิมาคลุกเคล้ากับข้าวเหนียวเพื่อให้เกิดความมันนั่นเอง
12. คลินิก VS คลีนิก VS คลินิค
            คำที่ถูก >> คลินิก
            คำที่ผิด >> คลีนิก, คลินิค
คำนี้เขียนกันหลากหลายรูปแบบเลย ทั้ง คลินิก, คลีนิก, คลีนิค, คลินิค แต่ที่ถูกต้องจริงๆ เป็นเสียงสั้นใช้สระอิ และใช้ สะกด
13. คัดสรร VS คัดสรรค์
            คำที่ถูก >> คัดสรร
            คำที่ผิด >> คัดสรรค์
คัดสรรไม่ต้องมีตัว ค์จ้า เพราะคำว่า สรรหมายถึง การเลือก, การคัดอยู่แล้ว และคำนี้ก็เป็นคำซ้อนที่เอาความหมายเหมือนกันมาซ้อนคำกันนั่นเอง
14. สังสรรค์ VS สังสรร
            คำที่ถูก >> สังสรรค์
            คำที่ผิด >> สังสรร
อีกหนึ่งตัวอย่างสำหรับคำตระกูล สันแต่สำหรับคำว่า สังสรรค์ จะต้องตามด้วย ค์เสมอ
15. โคตร VS โครต
            คำที่ถูก >> โคตร
            คำที่ผิด >> โครต
ทั้ง 2 คำอ่านว่า โคดเหมือนกัน แต่ถ้าสังเกตการออกเสียงดีๆ จะรู้ว่าคำนี้ไม่มีควบกล้ำ ดังนั้นวิธีเขียนที่ถูกต้องคือ เอา ไว้หลังสุด คือ โคตร
16. จลาจล VS จราจล
            คำที่ถูก >> จลาจล
            คำที่ผิด >> จราจล
วิธีจำให้เขียนถูกง่ายนิดเดียว คำว่า จราจรใช้ ทั้งสองตัว ส่วน จลาจลก็ใช้ ทั้งสองตัวเช่นเดียวกันค่ะ
17. น้ำมันก๊าซ VS น้ำมันก๊าด
            คำที่ถูก >> น้ำมันก๊าด
            คำที่ผิด >> น้ำมันก๊าซ
ให้จำเอาไว้ว่าเขียนให้ง่ายๆ ตามแบบคนไทยใช้ ไม่ต้องสนใจว่ามาจากภาษาอังกฤษคำว่า Gas
18. ทะเลสาบ VS ทะเลสาป
            คำที่ถูก >> ทะเลสาบ
            คำที่ผิด >> ทะเลสาป
คำว่า สาปในภาษาไทยมีเพียงความหมายเดียว หมายถึง คำแช่ง ดังนั้นจึงต้องใช้คำว่า สาบ
19. เครื่องสำอางค์ VS เครื่องสำอาง
            คำที่ถูก >> เครื่องสำอาง
            คำที่ผิด >> เครื่องสำอางค์
ที่ถูกต้องจริงๆ ต้องเขียนว่า เครื่องสำอางโดยคำว่า สำอางมีความหมายว่า สิ่งเสริมแต่ง บำรุงใบหน้า
20. นะค่ะ VS นะคะ VS น๊ะค๊ะ
            คำที่ถูก >> นะคะ
            คำที่ผิด >> นะค่ะ, น๊ะคะ
เป็นคำที่ผู้หญิงใช้ผิดมากที่สุดคำหนึ่ง จริงๆ จำไว้แค่ว่า นะคะไม่ต้องมีวรรณยุกต์ใดๆ ไม้เอก ไม้โท ไม่ตรี ไม่มีทั้งนั้น จบ
21. บังสุกุล VS บังสกุล
            คำที่ถูก >> บังสุกุล
            คำที่ผิด >> บังสกุล
บังสุกุล เป็นคำที่ใช้เรียกผ้าที่พระสงฆ์ชักจากศพหรือผ้าที่ทอดไว้หน้าศพ คำนี้เมื่อพูดเร็วๆ รัวๆ อาจฟังเป็น บังสกุล ซึ่งเป็นการสะกดที่ผิด
22. ผีซ้ำด้ามพลอย VS ผีซ้ำด้ำพลอย
            คำที่ถูก >> ผีซ้ำด้ำพลอย
            คำที่ผิด >> ผีซ้ำด้ามพลอย
ที่ถูกคือ ด้ำแต่อาจเพี้ยนกลายเป็นคำว่า ด้ามเพราะคนไม่เข้าใจความหมายคำว่า ด้ำซึ่งหมายถึง ผีเรือน
23. พิธีรีตอง VS พิธีรีตรอง
            คำที่ถูก >> พิธีรีตอง
            คำที่ผิด >> พิธีรีตรอง
พิธีรีตอง หมายถึง งานพิธีตามแบบตามธรรมเนียม เวลาเขียนคำนี้ไม่ต้องเติม ในคำว่า ตองท่องเลยๆ
24. แพทยศาสตร์ VS แพทย์ศาสตร์
            คำที่ถูก >> แพทยศาสตร์
            คำที่ผิด >> แพทย์ศาสตร์
แพทยศาสตร์เป็นคำสมาสระหว่างคำว่า แพทย์” + “ศาสตร์เมื่อเอามารวมกัน คำก่อนหน้าที่มีการันต์ให้ตัดทิ้งได้เลย
25. ริดรอน VS ลิดรอน
            คำที่ถูก >> ลิดรอน
            คำที่ผิด >> ริดรอน
วิธีการเขียนคำนี้ให้ถูกต้อง ต้องเขียนว่า ลิดรอนพยางค์หน้าใช้ พยางค์หลังใช้
26. ไล่เรียง VS ไล่เลียง
            คำที่ถูก >> ไล่เลียง
            คำที่ผิด >> ไล่เรียง
ไล่หมายถึง การขับออก, บังคับให้ไป ส่วน เลียงก็หมายถึง การไล่สิ่งไม่บริสุทธิ์ออก ดังนั้นคำนี้จึงเป็นคำซ้อน
27. วิ่งเปี้ยว VS วิ่งเปรี้ยว
            คำที่ถูก >> วิ่งเปี้ยว
            คำที่ผิด >> วิ่งเปรี้ยว
ปกติคำนี้เราใช้แต่วิธีพูด ไม่ค่อยได้ลงมือเขียนกันเท่าไหร่ ฉะนั้นเวลาต้องมาเขียนจริงๆ ก็นึกไปเองว่าใช้ เปรี้ยวเหมือนรสเปรี้ยว แต่ที่ถูกต้องจริงๆ เขียน เปี้ยว
28. กระหรี่ VS กะหรี่
            คำที่ถูก >> กะหรี่
            คำที่ผิด >> กระหรี่
จำไว้เหมือน กะเทยเลยว่า เป็นกะเทย เป็นกะหรี่ ไม่ต้องมี รอ
ที่มา : 50 คำไทยใช้บ่อย ที่เด็กไทยเขียนผิดประจำ (ตอนที่ 1)
            50 คำไทยใช้บ่อย ที่เด็กไทยเขียนผิดประจำ (ตอนที่ 2)